คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การจัดการสิ่งปฏิกูลตามแนวพระราชดำริ

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

09.12.2563
1794
1
แชร์
09
ธันวาคม
2563

ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล

        การบำบัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกหลักวิชาการสุขาภิบาลนั้นมีหลายวิธี จะแตกต่างกันตามราคาในการลงทุน ประสิทธิภาพในการบำบัด และผลพลอยได้ที่ได้รับ โดยหลักการแล้วในทุกๆวิธีของการบำบัดที่ถูกหลักสุขาภิบาลนั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยลดอัตราการแพร่ของโรคระบาดให้น้อยลง หรือมิให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะโรคของระบบทางเดินอาหาร สำหรับการบำบัดสิ่งปฏิกูลโดยวิธีการหมักย่อยสลายในถังปิด โดยอาศัยจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายสิ่งปฏิกูลหรืออุจจาระตามแนวพระราชดำรินั้น นับได้ว่าเป็นวิธีการบำบัดอุจจาระที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะมีกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป ทั้งยังมีผลพลอยได้ให้เป็นประโยชน์ทางด้านการเกษตร กล่าวคือ ได้รับปุ๋ยอินทรีย์อันเกิดจากกากตะกอนของอุจจาระ ที่มีคุณค่าในการเป็นธาตุอาหารสำหรับพืช ซึ่งกากตะกอนอุจจาระนี้จะไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวันอีกต่อไป และยังเป็นกากตะกอนที่ปราศจากเชื้อโรคไม่เป็นอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของประชาชน สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์มีประโยชน์ในทางการเกษตร อีกทั้งน้ำจากลานกรองทรายนำไปรดต้นไม้เป็นปุ๋ยน้ำที่มีคุณค่าเช่นกัน โดยมีหลักการหมักที่สำคัญ คือ ต้องหมักสิ่งปฏิกูลในถังปิดนานอย่างน้อย 28 วัน แล้วปล่อยสิ่งปฏิกูลที่หมักแล้วลงบนลานทรายกรอง ตากตะกอนให้แห้งสนิท ตะกอนที่ได้นี้จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ปลอดภัยจากเชื้อโรคระบบทางเดินอาหารและไข่พบาธิ

1.ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบและการทำงาน

ระบบการบำบัดสิ่งปฏิกูลโดยการหมักย่อยสลาย (Composting and Digestion) นั้น ประกอบด้วยส่วนต่างๆดังต่อไปนี้ คือ

1.1ถังหมักย่อยสลาย ประกอบด้วยถังคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้นจำนวน 31 ถัง มีฝาปิดมิดชิด ถังหมัดแต่ละถังต้องมีท่อระบายอากาศ ภายในถังหมักจะบรรจุสิ่งปฏิกูลที่ได้จากรถสูบสิ่งปฏิกูลที่ไปสูบมาจากส้วมตามบ้านเรือนและอาคารต่างๆ แล้วนำมาเทลงในทังหมักนี้ ภายในถังหมักจะเกิดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลโดยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ทำการหมักอย่างน้อย 28 วัน เพื่อทำลายเชื้อโรค พยาธิและไข่พยาธิที่ปะปนมากับสิ่งปฏิกูล

1.2 ลานทรายกรอง ภายหลังจากสิ่งปฏิกูลและน้ำที่ทำการหมักในถังหมักจนครบเวลาตามกำหนดแล้ว จึงปล่อยลงสู่ลานทรายกรอง ซึ่งจะทำหน้าที่กรองสิ่งปฏิกูลให้เหลือตกค้างอยู่ด้านบน ส่วนน้ำก็จะซึมผ่านลานทรายกรองสู่ท่อน้ำทิ้งด้านล่างเพื่อรวบรวมนำไปสู่บ่อพักน้ำเก็บไว้รดต้นไม้หรือบำบัดก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำสาธารณฆ่า สำหรับตะกอนที่กรองอยู่ด้านบนลานทรายกรองนั้น ให้ตากแดดจนแห้งเพื่อเป็นการเชื้อโรคโดยแสงอาทิตย์อีกขั้นหนึ่ง จากนั้นจึงนำไปย่อยหรือบดให้มีขนาดเล็กลง เพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป

2.เกณฑ์การออกแบบระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบหมักเป็นปุ๋ยตามแนวพระราชดำริ

รายการ

เกณฑ์

1.ถังหมัก
1.1 ปริมาณแต่ละถัง


1.2 รูปแบบ
1.3 จำนวนถัง


1.4 ความลาดเอียงที่พื้นถัง
1.5 ท่อระบายสิ่งปฏิกูล
1.6 ช่องใส่สิ่งปฏิกูล

1.7 ฝาปิดช่องใส่สิ่งปฏิกูล

1.8 ท่อระบายอากาศ
1.1 ใช้ปริมาณการเก็บสิ่งปฏิกูลในเดือนที่สูงสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณปริมาตรของแต่ละถัง และให้คิดเผื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย
1.2 ทรงกระบอกหรือสี่เหลี่ยม สูงไม่เกิน 2 เมตร
1.3 - ถ้าใส่สิ่งปฏิกูลวันละถัง ให้มีถังจำนวน 31 ถัง
      - ถ้าใส่สิ่งปฏิกูล 2 วันใน 1 ถัง ให้มีถังหมักจำนวน 16 ถัง
      - ต้องระบุวันที่หรือถังที่ บนฝาถังทุกถัง
1.4 อย่างน้อย 10%
1.5 เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว
1.6 ขนาดไม่น้อยกว่า 0.05 x 0.50 เมตร เพื่อสามารถลงไปทำ ความสะอาดได้
1.7 เป็นฝาเหล็กครอบ ใช้เหล็กหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร พร้อมหูจับ
1.8 เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 25 มม. ติดสามทางที่ปลายท่อ
2.ลานทรายกรอง
2.1 ปริมาตร

2.2 พื้นลาน

2.3 ขอบลาน
2.4 แผ่นคอนกรีตกันกระแทก
2.5 ท่อรับน้ำทิ้งใต้ลานเพื่อส่งน้ำไปยังบ่อพัก
2.6 บ่อพักน้ำ
2.7 วัสดุกรองของลานทรายกรอง


2.8 ควรมีหลังคาทำจากวัสดุโปร่งแสง

2.1 ใช้หลัก 1 ถัง/1ลาน คำนวณขนาดลานทรายกรอง
2.2 พื้นคอนกรีตลาดเอียงมาที่กึ่งกลาง ลานลาดเอียงไม่น้อยกว่า 10%
2.3 สูงไม่เกิน 10 เมตร
2.4 ขนาด 0.20 x 0.40 เมตร
2.5 ท่อ พี.วี.ซี. เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 100 มม. และเจาะรูพรุน เส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มม. ที่ 0.10 ม.
2.6 ขนาดไม่เล็กกว่า 0.60 x 0.60 ม. พร้อมฝาปิด
2.7 - ชั้นบนสุด ทรายหยาบ หนาไม่น้อยกว่า 15 ซม.
      - ชั้นกลาง หินเบอร์ 1 หนาไม่น้อยกว่า 10 ซม.
      - ชั้นล่าง หินเบอร์ 2 หนาไม่น้อยกว่า 15 ซม.
2.8 อาจทำเป็นหลังคาเลื่อนได้ มีขนาดตามความเหมาะสม
3.บ่อเก็บน้ำ เพื่อรับน้ำจากบ่อพักน้ำ
3.1 ปริมาตร


3.1 ปริมาตรเป็น 2 เท่า ของบ่อหมัก 1 ถัง

4.โรงเก็บปุ๋ยและอุปกรณ์ เช่น เครื่องบดปุ๋ย

4.1 เป็นโรงเรือนมีหลังคา พื้นยกสูงไม่ให้น้ำท่วมขัง

5.ถนน
5.1 ชนิด



5.2 กว้าง

5.1 - คอนกรีตหรือวัสดุอื่นที่มีความแข็งแรงทนทาน
      - ระยะห่างระหว่างปากถังหมักและพื้นถนนบริเวณที่รถสูบสิ่ง
         ปฏิกูลจอดเพื่อถ่ายสิ่งปฏิกูล ไม่ควรเกิน 0.70 ม. เพื่อความ
         สะดวกในการถ่ายสิ่งปฏิกูลจากรถลงสู่ถังหมัก
5.2 ไม่น้อยกว่า 3.50 ม.

6.การเลือกสถานที่

6.1 ระยะทาง
6.2 พื้นที่
6.3 การได้รับการยอมรับจากชุมชน
6.1 ไม่ไกลมาก การคมนาคมสะดวกและควรห่างจากบ้านเรือนอย่างน้อย 50 ม.
6.2 - ไม่เป็นที่ลุ่ม หรือมีน้ำท่วมขัง
      - มีถนนเข้าถึงที่ตั้งระบบ
6.3 ต้องได้รับความยินยอมจากชุมชนที่อยู่โดยรอบ

 

3.หลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติในการจัดการดูแลระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล

ต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาระบบฯ โดยเฉพาะและอยู่ประจำที่ระบบฯ มีหน้าที่ประจำต้องปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้

3.1 เจ้าหน้าที่ต้องสวมถุงมือยางและรองเท้าหุ้มแข็งขณะปฏิบัติงาน

3.2 เจ้าหน้าที่จะต้องดูแลให้รถสูบสิ่งปฏิกูลต้องทิ้งสิ่งปฏิกูลลงถังหมักตรงตามถังที่กำหนดในแต่ละวัน เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งปฏิกูลหมักนานอย่างน้อย 28 วัน (กรณีมีความจำเป็นต้องใส่สิ่งปฏิกูลหลายๆครั้ง หรือหลายๆวันในหนึ่งถัง เนื่องจากสิ่งปฏิกูลยังไม่เต็มถัง ให้เริ่มต้นนับจากวันที่ใส่สิ่งปฏิกูลครั้งสุดท้าย)

3.3 ถ้ามีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด เจ้าหน้าที่จะต้องใช้ไลโซน 2% ราดลงบนพื้นที่นั้น

3.4 ต้องปิดฝาถังหมักทุกครั้ง หลังจากใส่สิ่งปฏิกูลลงในถังหมักแล้ว

3.5 เจ้าหน้าที่ดูแลระบบจะต้องบันทึกเลขที่รถสูบสิ่งปฏิกูลและปริมาตรสิ่งปฏิกูลที่นำมาทิ้งทุกครั้ง เป็นการป้องกันไม่ให้รถนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งที่อื่น

3.6 ทุกครั้งที่ปล่อยสิ่งปฏิกูลจากถังหมัก เมื่อสิ่งปฏิกูลไหลออกเกือบจะหมดให้ใช้ไม้แหย่ท่อระบายเพื่อช่วยให้ตะกอนที่ตกค้างอยู่ก้นถังหมักไหลออกมาให้หมด และควรใช้น้ำฉีดไล่ตะกอนที่ตกค้างอยู่ก้นถังหมักอย่างน้อย 3 เดือน/ครั้ง

3.7 การดูแลลานทรายกรอง คือ ให้ทำความสะอาดหน้าลานทรายกรอง เมื่ออัตราการซึมเริ่มช้าลง โดยใช้อุปกรณ์ลอกหน้าลานทรายกรองออกแล้วเติมทรายใหม่ และต้องคอยเติมทรายให้ได้ความสูงตามที่กำหนดไว้

3.8 การโกยตะกอนที่ตากแห้งแล้วไปทำปุ๋ย เพื่อให้แน่ใจว่าตะกอนแห้งสนิทจริงๆ ให้ทิ้งไว้นาน 3 วัน หลังจากที่ตะกอนแห้งแล้ว จึงโกยตะกอนนำไปบดก่อนนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ย

3.9 หากมีอุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดต้องแจ้งซ่อมทันที

3.10 เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องได้รับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการดูแลและบำรุงระบบก่อนเข้ารับหน้าที่ปฏิบัติงาน

3.11 เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน