คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

28.02.2567
40
0
แชร์
28
กุมภาพันธ์
2567

               วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์พงศ์พันธ์ สายยศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยแพทย์หญิงพรวิภา กุลรัตน์ นายแพทย์ชำนาญการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โรงพยาบาลสุรินทร์ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และทีมบุคลากรโรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติให้แก่โรงพยาบาลในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและการประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และการเตรียมการรองรับภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล
           โดย รพ. ได้เรียนรู้การนำข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ทั้งปริมาณการปล่อย (GHGs Emission) ปริมาณการลด (GHGs Reduction) และปริมาณการดูดกลับ (GHGs Removal) ก๊าซเรือนกระจก โดยจุดเด่นของ รพ. อาทิ มีนโยบายด้านการจัดการของเสียทางการแพทย์และพลังงาน มีการประชาสัมพันธ์นโยบายร่วมปฏิบัติ มีคณะกรรมการและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีการใช้ Telemedicine มีการจัดเก็บข้อมูลปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ตามหมายเลขทะเบียนรถ การกำจัดขยะติดเชื้อด้วย Autoclave เพื่อลดจำนวนที่จะนำไปเผา การคัดแยกเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ มีการสำรวจท่อน้ำที่รั่วและซ่อมบำรุงเพื่อลดการสูญเสียทรัพยากรน้ำ การจัดประชุมแบบลดใช้กระดาษ (เปลี่ยนเป็น QR-code แทน) การจัดให้มีพื้นที่สีเขียว และการใช้ผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว นอกจากนี้มีการจัดทำ dashboard สำหรับติดตามการใช้พลังงานใน รพ. เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เป็นต้น ทั้งนี้ รพ. มีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน อาทิ การติดตั้งโซล่าเซลล์ การสำรวจเครื่องปรับอากาศที่มีอายุการใช้งานนานเพื่อวิเคราะห์การลดปริมาณใช้ไฟฟ้า การประสานเทศบาลนำเศษกิ่งไม้ใบไม้ไปหมักทำปุ๋ย เป็นต้น ในส่วนของการประเมินความเสี่ยง พบว่า รพ. มีความเสี่ยงภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ อุทกภัยและภัยแล้ง ซึ่ง รพ. มีการตรียมการรองรับภัยดังกล่าว อาทิ การเตรียมการด้านโครงสร้าง งานสิ่งแวดล้อมและการจัดการของเสีย ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Generator) งานความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการระยะต่อไป โรงพยาบาลจะนำข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดแนวทางและดำเนินการลดการปลดปล่อยก๊าซ ทบทวนการประเมินความเปราะบางจากภัยน้ำท่วมและภัยแล้งให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ครอบคลุมต่อการรับมือ ปรับตัวและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน