คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

29.02.2567
90
0
แชร์
29
กุมภาพันธ์
2567

          วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ณ โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์สุเมธ นิยกิจ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนายณฏฐพงษ์ พิมพ์โคตร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร ทีมบุคลากรโรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ โรงพยาบาลอุบลรักษ์ จังหวัดอุบลราชธานี และโรงพยาบาลทรายมูล จังหวัดยโสธร วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติให้แก่โรงพยาบาลในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและการประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และการเตรียมการรองรับภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล
               โดย รพ. นำข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ทั้งปริมาณการปล่อย (GHGs Emission) ปริมาณการลด (GHGs Reduction) และปริมาณการดูดกลับ (GHGs Removal) ก๊าซเรือนกระจก โดยจุดเด่นของ รพ. 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ อาทิ มีนโยบายด้านการประหยัดพลังงาน การเป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน การติดตั้งโซล่าเซลล์ การใช้ telemedicine นโยบาย IPD paperless การคัดแยก เศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ นำเศษกิ่งไม้ใบไม้ทำเป็นดินปลูกบำรุงรักษาต้นไม้ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว เป็นต้น จุดเด่นของโรงพยาบาลทรายมูล อาทิ นโยบาย IPD paperless การใช้ telemedicine การสำรวจระบบท่อประปาที่รั่วซึมและซ่อมแซมลดการสูญเสียทรัพยากรน้ำ การคัดแยกขยะรีไซเคิล เป็นต้น ในส่วนของการประเมินความเสี่ยง พบว่า รพ. 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ ประเมินความเสี่ยงภัยด้านอุทกภัย (น้ำท่วม) ซึ่ง รพ. มีการเตรียมการรองรับภัย อาทิ มีทีม MCATT ดูแลสุขภาพจิตบุคลากรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม เฝ้าระวังและสื่อสารความเสี่ยงจากน้ำท่วมร่วมกับชุมชนผ่านกลุ่ม LINE การมีแหล่งน้ำสำรอง และการยกเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) ให้สูงขึ้นป้องกันการถูกน้ำท่วม เป็นต้น ส่วน รพ. ทรายมูล ประเมินความเสี่ยงภัยจากวาตภัย ซึ่ง รพ. มีการเตรียมการ อาทิ มีทีม MCATT ดูแลสุขภาพจิตบุคลากร การตรวจวัดคุณภาพน้ำดื่ม น้ำใช้หากประสบวาตภัย การเตรียมพร้อมด้านทรัพยากร และการติดตั้งสายล่อฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการระยะต่อไป โรงพยาบาลจะนำข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดแนวทางและดำเนินการลดการปล่อย ทบทวนการประเมินความเสี่ยงและเปราะบาง ให้ครอบคลุมต่อการรับมือ ปรับตัวและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งเตรียมการจัดทำแผนรองรับภัยต่อไป

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน