คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

07.03.2567
63
0
แชร์
07
มีนาคม
2567

           วันที่ 6 มีนาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ณ โรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โดยได้รับเกียรติจากนายแพทย์ธงภักดิ์ มีเพียร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองหาน เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ทีมบุคลากรโรงพยาบาลหนองหาน จังหวัดอุดรธานี โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี โรงพยาบาลหนองคาย จังหวัดหนองคาย โรงพยาบาลบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ และโรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติให้แก่โรงพยาบาลในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและการประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และการเตรียมการรองรับภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

           โดย รพ. นำข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ทั้งปริมาณการปล่อย (GHGs Emission) ปริมาณการลด (GHGs Reduction) และปริมาณการดูดกลับ (GHGs Removal) ก๊าซเรือนกระจก โดยภาพรวมจุดเด่นของ รพ. ทั้ง 5 แห่ง อาทิ มีคณะกรรมการบริหารสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการขับเคลื่อนงาน การตั้งเป้าหมายและมาตรการการลดการใช้พลังงาน การติดตั้งโซล่าเซลล์ การใช้ telemedicine การจัดให้มีพื้นที่ สีเขียวในโรงพยาบาล การนำเศษอาหาร กิ่งไม้ใบไม้ไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เป็นต้น โดยมีแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน เช่น คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ลดการใช้สารไนตรัสออกไซด์ มาตรการลดการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น ในส่วนของการประเมินความเสี่ยง พบว่า ในภาพรวม รพ. ในพื้นที่ มีความเสี่ยงภัย คือ น้ำท่วม ภัยแล้ง และพายุ โดย รพ. มีการเตรียมการ อาทิ มีทีม MERGE ดูแลสุขภาพจิตบุคลากรที่ได้รับผลกระทบ การติดตามสถานการณ์เฝ้าระวังความเสี่ยงร่วมกับเครือข่าย การสร้าง Floodway ช่องทางน้ำไหลเพื่อลดผลกระทบและป้องกันน้ำท่วม การสำรองน้ำใช้ช่วงภัยแล้ง การเตรียมการด้านพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการระยะต่อไป โรงพยาบาลจะนำข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดแนวทางและดำเนินการลดการปล่อยคาร์บอน ทบทวนการประเมินความเสี่ยงและเปราะบางให้ถูกต้องและตรงตามบริบทของ รพ. เพื่อให้ครอบคลุมต่อการรับมือ ปรับตัวและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งเตรียมการจัดทำแผนรองรับภัยต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน