คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.03.2567
57
0
แชร์
10
มีนาคม
2567

              วันที 8 มีนาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ณ โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ จังหวัดเลย โดยได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงจุฬาพันธุ์ เหมกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วยนางบุศรินทร์ เวศมโน รองผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจอำนวยการ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลย ทีมบุคลากรโรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ และโรงพยาบาลนาด้วง จังหวัดเลย วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติให้แก่โรงพยาบาลในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและการประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และการเตรียมการรองรับภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล
              โดย รพ. นำข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ทั้งปริมาณการปล่อย (GHGs Emission) ปริมาณการลด (GHGs Reduction) และปริมาณการดูดกลับ (GHGs Removal) ก๊าซเรือนกระจก โดยจุดเด่นของรพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ อาทิ มีทีม GCH และ ENV ขับเคลื่อนงาน มีการคัดแยกขยะรีไซเคิลทั้งในสำนักงานและบ้านพัก การคัดแยกเศษอาหาร เศษผักมาหมักทำปุ๋ย การจัดพื้นที่สีเขียวและลดใช้ปุ๋ยเคมี การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีนโยบายด้านการประหยัดพลังงาน การติดตั้งโซล่าเซลล์ การใช้ telemedicine การสำรวจหลอดไฟและเปลี่ยนเป็นแบบประหยัดไฟฟ้า เป็นต้น จุดเด่นของรพ.นาด้วง อาทิ มีทีม ENV ขับเคลื่อนงาน มีการคัดแยกขยะรีไซเคิล การคัดแยกเศษอาหารจากบ้านพักและเศษกิ่งไม้ใบไม้มาหมักทำปุ๋ย และนำเศษอาหารจากหอผู้ป่วยในไปเลี้ยงสัตว์ มีมาตรการประหยัดพลังงาน การติดตั้งโซล่าเซลล์ และการใช้ telemedicine เป็นต้น ในส่วนของการประเมินความเสี่ยง พบว่า รพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ และ รพ.นาด้วง ประเมินความเสี่ยงภัยด้านวาตภัย (พายุ) ซึ่ง รพ.จิตเวชเลยราชนครินทร์ มีการเตรียมการ อาทิ มีทีม MCATT ดูแลสุขภาพจิตบุคลากรที่ได้รับผลกระทบ การเตรียมเครื่องปั่นไฟและเครื่องกำเนิดไฟฟ้ารองรับในจุดบริการที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าหากเกิดวาตภัย เช่น จุดบริการรักษาด้วยไฟฟ้า เครื่องช่วยหายใจ การเตรียมการด้าน IT การเตรียมน้ำดื่มจากแหล่งต่างๆ รองรับภัย เช่น การผลิตน้ำดื่มเอง การซื้อจากภายนอก เป็นต้น ส่วน รพ. นาด้วง มีการเตรียมการ อาทิ มีทีม MCATT ดูแลสุขภาพจิตบุคลากร กำหนดเส้นทางอพยพและที่พักชั่วคราวสำหรับบุคลากรที่ได้รับผลกระทบ มีแผนด้านบุคลากรพร้อมต่อการปฏิบัติงาน การเตรียมแหล่งน้ำใต้ดินสำหรับผลิตน้ำดื่ม รวมถึงการตรวจสอบ บำรุงรักษาอาคารให้มีความแข็งแรงเพื่อรองรับภัย เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการระยะต่อไป โรงพยาบาลจะนำข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดแนวทางและดำเนินการลดการปล่อย ทบทวนการประเมินความเสี่ยงและเปราะบางให้ครอบคลุมต่อการรับมือ ปรับตัวและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งเตรียมการจัดทำแผนรองรับภัยต่อไป

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน