คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

13.03.2567
54
0
แชร์
13
มีนาคม
2567

          วันที่ 12 มีนาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ณ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับเกียรติจาก นายแพทย์อดุลย์ เร็งมา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย นายแวปา วันฮุสเซนต์ หัวหน้ากลุ่มงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา ทีมบุคลากรจากโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ จำนวน 25 แห่ง วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติให้แก่โรงพยาบาลในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและการประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และการเตรียมการรองรับภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

          โดย รพ. ได้เรียนรู้การนำข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ทั้งปริมาณการปล่อย (GHGs Emission) ปริมาณการลด (GHGs Reduction) และปริมาณการดูดกลับ (GHGs Removal) ก๊าซเรือนกระจก โดยจุดเด่นของ รพ. อาทิ มีนโยบายพื้นที่สีเขียว 80-90% มีการปรับภูมิทัศน์ของ รพ. ในรูปแบบ Hospital in the garden (nature) รวมถึงออกแบบอาคารแบบ “ไม่ปิดทางลม ไม่กันทางแสง” ใช้เครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์ทั้งโรงพยาบาล การติดตั้งโซล่าเซลล์ 2 จุด กำลังการผลิตไฟฟ้า 5 Kwh และมีแผนติดตั้งเพิ่มอีก 130 Kwh มีนโยบายลดใช้กระดาษ (paper less) มีการนำเศษอาหารและกิ่งไม้ใบไม้มาหมักทำปุ๋ย และคัดแยกขยะรีไซเคิล เป็นต้น ในส่วนของการประเมินความเสี่ยงภัย พบว่า รพ. มีความเสี่ยงภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ อุทกภัย (น้ำท่วม) ซึ่ง รพ. มีการเตรียมการรองรับภัยดังกล่าว อาทิ มีทีม MCATT ดูแลสุขภาพจิตบุคลากร มีแผนสำรองกรณีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน มีแนวทางในการรับมือกรณีไฟดับจากอุทกภัย รวมถึงการกำหนดจุดเฝ้าระวังอุทกภัย และการเตรียมการเรื่อง คน เงิน ของ รองรับกรณีเกิดอุทกภัย เป็นต้น ทั้งนี้ การดำเนินการระยะต่อไป รพ.จะนำข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น กำหนดแนวทางและดำเนินการลดการปล่อย ทบทวนการประเมินความเปราะบางจากอุทกภัยให้ครอบคลุมต่อการรับมือ ปรับตัวและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน