คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำ และการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

14.03.2567
28
0
แชร์
14
มีนาคม
2567

         วันที่ 13 มีนาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 1/2567 ณ โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา โดยได้รับเกียรติจาก นายณรงค์ ว่องประเสริฐกุล เภสัชกรชำนาญการพิเศษ (ด้านสาธารณสุข) รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามัน เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ทีมบุคลากรจากโรงพยาบาลรามัน วัตถุประสงค์เพื่อฝึกปฏิบัติให้แก่โรงพยาบาลในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและการประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) รวมทั้งการประเมินความเสี่ยง ความเปราะบาง และการเตรียมการรองรับภัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

          โดย รพ. ได้เรียนรู้การนำข้อมูลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาประเมินรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) ทั้งปริมาณการปล่อย (GHGs Emission) ปริมาณการลด (GHGs Reduction) และปริมาณการดูดกลับ (GHGs Removal) ก๊าซเรือนกระจก โดยจุดเด่นของ รพ. อาทิ การมีนโยบายรพ. คาร์บอนต่ำ มีคณะกรรมการดำเนินงานและกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมอย่างชัดเจน การจัดทำ Dashboard โปรแกรม LC-RH (Low Carbon Raman Hospital) ใช้รวบรวมข้อมูลกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ รพ. เช่น ข้อมูลการคัดแยกขยะตามประเภท (ขยะติดเชื้อ ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย) เป็นต้น มีนโยบายประหยัดพลังงานและการใช้ทรัพยากร การติดตั้งโซล่าเซลล์ การลดใช้กระดาษ (paper less) การนำเศษอาหารและนำเศษกิ่งไม้ใบไม้มาหมักทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และเสี้ยงสัตว์ การจัดผังต้นไม้และพื้นที่สีเขียวในรพ. รวมถึงการใช้ Telemedicine การส่งยาทางไปรษณีย์ เพื่อลดการเดินทางมา รพ. ในส่วนของการประเมินความเสี่ยงภัย พบว่า รพ. มีความเสี่ยงภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ อุทกภัย (น้ำท่วม) ซึ่ง รพ. มีแผนเตรียมการรองรับอุทกภัย อาทิ มีการสำรวจและประเมินความเสี่ยงในพื้นที่ รพ. ที่อาจได้รับผลกระทบ มีแผนสำรองกรณีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉิน การเฝ้าระวังระดับน้ำ การจัดทำผังและช่องทางการติดต่อประสานความช่วยเหลือ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมใช้ การเฝ้าระวังการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินการระยะต่อไป รพ. จะนำข้อคิดเห็นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มาจัดทำข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น กำหนดแนวทางและดำเนินการลดการปล่อย ทบทวนการประเมินความเปราะบางจากอุทกภัยให้ครอบคลุมต่อการรับมือ ปรับตัวและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน