คุณกำลังมองหาอะไร?

ระชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2567

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

18.04.2567
90
0
แชร์
18
เมษายน
2567

              นางปรียานุช บูรณะภักดี สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม และนางสาวพนิตา เจริญสุข กองประเมินกระทบต่อสุขภาพ เป็นผู้แทนกรมอนามัย เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะแบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2567 ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายภาคส่วน ได้แก่ หน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภายนอกที่มีตัวชี้วัดร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย กรมอนามัย กรมควบคุมโรค กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผู้แทนจากท้องถิ่นจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัตถุประสงค์เพื่อร่วมให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแบบประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA) จำนวน 88 ตัวชี้วัด และแบบประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพสูง (High - Potentiated Local Assessment: HPA) จำนวน 17 ตัวชี้วัด มีรายละเอียด ดังนี้
             • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดในเกณฑ์ประเมิน Local Performance Assessment: LPAประจำปี 2567 : โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้พิจารณาความเหมาะสมและปรับปรุงตัวชี้วัดปีก่อน และจัดทำตัวชี้วัดขึ้นใหม่ ทั้งนี้ได้ปรับรายละเอียดเกณฑ์การให้คะแนน จาก 4 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 3 และ 5 เปลี่ยนเป็น 6 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 คะแนน
             • แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดในเกณฑ์ประเมิน High - Potentiated Local Assessment: HPA ประจำปี 2567 : มุ่งเน้นไปที่การวัดผลเชิงผลลัพธ์ (Outcome) ที่สำคัญ และส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีคะแนนเต็ม 5 คะแนน และจำแนกเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 6 ระดับ ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4 และ 5 คะแนน ทั้งนี้กำหนดให้ประเมินทุก อปท. ไม่สามารถตัดฐานการประเมินรายข้อได้ แต่จะไม่นำผลคะแนนมาคิดคำนวณรวมกับผลการประเมิน LPA
             • แนวทางการจัดกลุ่มและอันดับ อปท. ประจำปี 2567 : เพื่อยกระดับ อปท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคัดเลือก อปท. ที่มีผลคะแนนการประเมิน LPA ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีผลการประเมิน HPA ร้อยละ 70 ขึ้นไป มาคำนวณเพื่อจัดลำดับโดยผลการประเมิน LPA ค่าน้ำหนัก: ร้อยละ 70 และผลการประเมิน HPA ค่าน้ำหนัก: ร้อยละ 30 ทั้งนี้ กำหนดเกณฑ์คำนวณลำดับ (Ranking) โดยจัดกลุ่มเป็น 4 ระดับ ดังนี้

ระดับ  ผลการจัดลำดับ การมอบรางวัล
ระดับดีเด่น (Platinum Tier) อปท. ตั้งแต่ลำดับที่ 1 - 10 โล่เชิดชูเกียรติ
ระดับดีมาก (Gold Tier) อปท. ตั้งแต่ลำดับที่ 11 - 30 โล่เชิดชูเกียรติ
ระดับดี (Silver Tier)
อปท. ตั้งแต่ลำดับที่ 31 - 100 เกียรติบัตร
ระดับพอใช้ (Bronze Tier)
อปท. ตั้งแต่ลำดับที่ 101 - 200 เกียรติบัตร

              ที่ประชุม: เห็นชอบตัวชี้วัดของกรมอนามัย
              1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมทั้ง 2 ตัวชี้วัด ในเกณฑ์การประเมิน LPA (Local Performance Assessment: LPA)
              2) ตัวชี้วัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนพัฒนาเป็นเมืองสุขภาพดี ในเกณฑ์การประเมิน HPA (High - Potentiated Local Assessment: HPA)
              ทั้งนี้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กำหนดชี้แจงแนวทางการตรวจประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2567 ให้แก่ท้องถิ่นจังหวัดเพื่อทราบ และแต่งตั้งทีมประเมินประสิทธิภาพของ อปท. ในเดือนพฤษภาคม 2567 ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน