คุณกำลังมองหาอะไร?

วั

วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จ. กาฬสินธุ์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

26.07.2567
36
0
แชร์
26
กรกฎาคม
2567

              วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ โดย นายแพทย์สุรสิทธิ์ จิตรพิทักษ์เลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ ทีมบุคลากรโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ และโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 18 อำเภอ วัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

           โรงพยาบาลได้นำเสนอผลการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ รพ. พบว่า ในปี 2566 กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ การใช้สารเคมี การใช้ไฟฟ้า การกำจัดของเสีย การใช้ทรัพยากร สาธารณูปโภคและอื่นๆ และการใช้เชื้อเพลิงเผาไหม้อยู่กับที่ ตามลำดับ โดยผู้อำนวยการ รพ.เห็นความสำคัญและกำหนดให้เรื่อง รพ.คาร์บอนต่ำฯ เป็นนโยบายที่ทุกคนใน รพ. ต้องให้ความร่วมมือ มีการมอบหมายคณะกรรมการ ENV และคณะทำงานย่อยขับเคลื่อนงาน มีการรายงานความก้าวหน้าทุกเดือนกำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก ร้อยละ 5 โดยจัดทำ “โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่การเป็น รพ.คาร์บอนต่ำและเท่าทันโลก” อาทิ การลดจำนวนผู้มาใช้บริการโรงพยาบาล ด้วยการใช้งานระบบดูแลผู้ป่วยจากระยะทางไกล Telemedicine System, การใช้พลังงานจากธรรมชาติแทนการใช้ไฟฟ้าในจุดพักคอย การติดตั้ง Solar rooftop, การลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิงด้วยการจองรถผ่านระบบออนไลน์ นำมาจัดกลุ่มเส้นทาง (ทางเดียวกันไปด้วยกัน) และอนุมัติการใช้ยานพานะโดยผู้บริหาร, การคัดแยกขยะ, ลดการใช้ถุงพลาสติก, OPD Paperless ระบบเบิกจ่ายพัสดุออนไลน์ ระบบเวียนหนังสืออิเล็กทรอนิกส์, มีนโยบายจัดซื้อจัดจ้างเวชภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ อาหาร บนพื้นฐานแนวคิดคาร์บอนต่ำ, มีโครงการศูนย์รีไซเคิลน้ำเสียโดยนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์ และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ รพ. เป็นต้น ซึ่งผลการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะ 5 เดือนแรกของปี 2566 และ ปี 2567 พบว่า รพ.สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ทั้งนี้ รพ. จะทบทวนและรวบรวมข้อมูลกิจกรรมให้ครบถ้วน และนำผลการวิเคราะห์มากำหนดมาตรการและดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลการลดในระยะ 1 ปี ต่อไป

           นอกจากนี้ รพ. ได้นำเสนอผลการประเมินความเปราะบางจากวาตภัย โดยด้านที่มีความเปราะบางมากที่สุด คือ บุคลากรด้านสุขภาพ รองลงมาคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ด้านพลังงาน และด้านการจัดการน้ำ สุขาภิบาล และของเสียทางการแพทย์ ซึ่ง รพ. มีการเตรียมความพร้อมรองรับ อาทิ มีแผนรองรับกรณีไฟฟ้าดับ การเตรียมการสำรองไฟฟ้า และมีคู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าที่ปลอดภัยสำหรับบุคลากรช่วงเกิดภัย มีแผนการจัดการน้ำรองรับกรณีน้ำประปาไม่ไหลหรือน้ำไม่พอใช้ และกำหนดจุดตั้งถังน้ำสำรอง มีแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ มีการป้องกันการเกิดน้ำท่วมจากวาตภัย เช่น การตรวจสอบระบบระบายน้ำ การจัดเตรียมเครื่องไดโว่สำหรับใช้สูบน้ำ เป็นต้น ทั้งนี้ รพ. จะดำเนินการถอดบทเรียนจากผู้ที่มีประสบการณ์ การสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนกต่างๆ และรวบรวมแผนที่มีอยู่แล้วทั้งในภาวะปกติและรองรับภัยต่างๆ นำมาประยุกต์และจัดทำเป็นแผนรองรับวาตภัยที่มีความสมบูรณ์ที่สุด และจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานร่วมกับ รพ.นำร่องอื่นๆ ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน