คุณกำลังมองหาอะไร?

วั

วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลหนองหาน จ.อุดรธานี

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.07.2567
101
0
แชร์
30
กรกฎาคม
2567

         วันที่ 30 กรกฎาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลหนองหาน จ.อุดรธานี โดยมีนายแพทย์ธงภักดิ์ มีเพียร               ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองหาน เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 8 อุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร และทีมบุคลากร รพ.หนองหาน รพ.สมเด็จพระยุพราชบ้านดุง จ.อุดรธานี รพ.หนองคาย จ.หนองคาย รพ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ รพ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม และ รพ. อื่นๆ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก จ.สกลนคร และ จ.บึงกาฬ วัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

          โรงพยาบาลได้นำเสนอผลการคำนวณและวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่า ในภาพรวมกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ การใช้ไฟฟ้า รองลงมาคือ การเผาไหม้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Combustion) การกำจัดของเสีย การใช้สารเคมี การใช้ทรัพยากร สาธารณูปโภคและอื่นๆ ซึ่ง รพ. มีนโยบายและคณะกรรมการ ENV ขับเคลื่อนงานหลัก ร่วมกับคณะกรรมการต่างๆ เช่น คณะกรรมการ IC คณะกรรมการ 5 ส. เป็นต้น รวมถึงการกำหนดเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย รพ. ได้ดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไก 7 ประการ อาทิ มีนโยบาย smart hospital ใช้เทคโนโลยีในการให้บริการ เช่น Telemedicine ระบบ OPD/IPD paperless เป็นต้น
มีโครงการ health riderมีนโยบายอนุรักษ์พลังงาน เช่น การติดตั้งโซล่าเซลล์ เส้นทางเดียวกันไปด้วยกัน รณรงค์ใช้กระติกน้ำร้อน ไมโครเวฟ
ด้วยกันเพื่อลดการใช้ไฟฟ้า การเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศที่มีอายุการใช้งานเกิน 10 ปี ส่งเสริมการใช้จักรยานและการเดิน เป็นต้น รวมถึงการ
คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง การนำมูลฝอยอินทรีย์ไปเลี้ยงสัตว์ทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ การจัดซื้อจัดจ้างวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดนัดสีเขียว และเพิ่มพื้นที่สีเขียว (GREEN area) เป็นต้น ซึ่งผลการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะ 6 เดือนแรก ของปี 2566 และปี 2567 พบว่า รพ.บึงโขงหลง สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ในบางกิจกรรม ส่วน รพ.อื่นๆ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2567 สูงกว่า 2566 เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าค่อนข้างสูงในกิจกรรมต่างๆ เช่น การก่อสร้างอาคารเพิ่ม การขยายการให้บริการ การใช้เครื่องปรับอากาศในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รพ. จะทบทวนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้อง นำไปสู่การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการ และดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลการลดในระยะ 1 ปี ต่อไป

         ส่วนของความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า รพ.หนองหาน และ รพ.บึงโขงหลง มีความเสี่ยงจากอุทกภัย รพ.สมเด็จพระยุพราชบ้านดุง มีความเสี่ยงจากคลื่นความร้อน รพ.หนองคาย มีความเสี่ยงภัยแล้ง อุทกภัย และ รพ.โพนสวรรค์ มีความเสี่ยงภัยวาตภัย ซึ่งทุก รพ. มีการประเมินความเปราะบางตามความเสี่ยงภัย โดยมีการจัดทำแผนรองรับจากประสบการณ์ที่เคยประสบภัย รวมถึงการนำแผนที่มีอยู่เดิม เช่น แผนรองรับอัคคีภัย แผนโควิด-19 มาประยุกต์ และจัดทำเป็นแผนรองรับภัย ทั้งนี้ รพ. จะทบทวนเรื่องการประเมินความเปราะบางให้ถูกต้อง รวมทั้งเพิ่มเติมแผนรองรับภัยให้ครอบคลุมและสมบูรณ์ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานร่วมกับ รพ. นำร่องอื่นๆ ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน