คุณกำลังมองหาอะไร?

วั

วันที่ 6 สิงหาคม 2567 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ. นราธิวาส

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

06.08.2567
32
0
แชร์
06
สิงหาคม
2567

          วันที่ 6 สิงหาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จ. นราธิวาส โดยนายแพทย์อดุลย์ เร็งมา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส ทีมผู้บริหาร บุคลากรโรงพยาบาลยี่งอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา และทีมโรงพยาบาลในจังหวัดนราธิวาส จำนวน 12 แห่ง วัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

          โรงพยาบาลได้นำเสนอภาพรวมผลการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ รพ. พบว่า ในปี 2566 และ 2567 กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 5 อันดับแรก ของ รพ. คือ การใช้ไฟฟ้า รองลงมาคือ การกำจัดของเสีย การใช้ทรัพยากร สาธารณูปโภค การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และการเผาไหม้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Combustion) ตามลำดับ โดยผู้บริหาร รพ. ให้ความสำคัญ มีการตั้งเป้าหมายการดำเนินงานกิจกรรม และเล็งเห็นถึงความท้าทายต่อการยกระดับเป็น รพ. คาร์บอนต่ำฯ มีการจัดตั้งคณะทำงาน ENV คณะทำงาน GREEN & CLEAN Hospital โดย รพ. ดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไก 7 ประการ อาทิ การให้บริการโดยใช้ IT ช่วยเชื่อมโยงข้อมูล การให้บริการ Smart Paperless ใน IPD OPD และ ER การให้บริการทางการแพทย์ผ่าน telemedicine การพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด “Hospital in the garden สู่ Hospital in the Nature” ด้านพลังงาน รพ. มีแผนการติดตั้งโซล่าเซลล์ พร้อมตั้งเป้าหมายค่าไฟลดลงเฉลี่ย ร้อยละ 30 มีการคัดแยกขยะจากต้นทาง สนับสนุนการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า (EV) ส่งเสริมการใช้จักรยานในรพ. ติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดน้ำ เช่น ก๊อกน้ำระบบ Sensor สร้างระบบการเก็บและกรองน้ำฝนเพื่อนำมาใช้ในการรดน้ำต้นไม้และการล้างห้องน้ำ การส่งเสริมให้บุคลากรใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การเลือก Supplier ที่อยู่ใกล้เคียงเพื่อลดการขนส่ง การจัดซื้อเวชภัณฑ์และเครื่องมือที่นำกลับมาใช้ใหม่หรือ  รีไซเคิลได้ เป็นต้น ทั้งนี้ รพ. จะทบทวนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้อง นำไปสู่การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลการลดในระยะ 1 ปี ต่อไป

          นอกจากนี้ รพ. ได้นำเสนอผลการประเมินความเปราะบางจากอุทกภัย และการเตรียมการรองรับภัย อาทิ มีการจัดทำแผนรับมืออุทกภัยโดยการแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ การนำแผนรองรับอัคคีภัย แผน MCATT มาประยุกต์ใช้กรณีภัยน้ำท่วม การเตรียมเส้นทางสำหรับลำเลียงผู้ป่วยเมื่อฉุกเฉิน การกำหนดพื้นที่และอุปกรณ์สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าและพลังงาน รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานหากไฟฟ้าดับ การเตรียมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แหล่งพลังงานไฟฟ้าสำรอง (โซล่าเซลล์) ปริมาณเชื้อเพลิง สำหรับใช้หากเกิดอุทกภัย เป็นต้น ทั้งนี้ รพ. จะเพิ่มเติมแผนรองรับภัยให้ครอบคลุม ครบถ้วน และจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานร่วมกับ รพ. นำร่องอื่นๆ ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน