คุณกำลังมองหาอะไร?

วั

วันที่ 9 สิงหาคม 2567 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและ การเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลท่าแซะ จ. ชุมพร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

10.08.2567
77
0
แชร์
10
สิงหาคม
2567

           วันที่ 9 สิงหาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลท่าแซะ จ. ชุมพร โดยนายแพทย์ภูมิธพัฒน์ มายุศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าแซะ เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ทีมผู้บริหารและบุคลากรโรงพยาบาลท่าแซะ วัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของโรงพยาบาล

          รพ. ได้นำเสนอผลการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ รพ. พบว่า ในปี 2566 กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ การใช้ไฟฟ้า รองลงมาคือ การกำจัดของเสีย การเผาไหม้แบบเคลื่อนที่ (Mobile Combustion) การใช้ทรัพยากร สาธารณูปโภค และการเผาไหม้อยู่กับที่ (Stationary Combustion) ตามลำดับ โดยผู้บริหาร รพ. ให้ความสำคัญ และเล็งเห็นถึงความท้าทายต่อการยกระดับเป็น รพ. คาร์บอนต่ำฯ มีการจัดทำโครงการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก กำหนดเป้าหมายลดการใช้พลังงานร้อยละ 5 โดย รพ. ดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกลไก 7 ประการ อาทิ Smart Tools การใช้ Kiosk ลงทะเบียน มี IPD/OPD paperless การพิสูจน์และยืนยันตัวตน Digital ID Smart Services การนัดหมายโดยแยกกลุ่มผู้รับบริการ การสั่งจ่ายยาในรูปแบบอิเล็คทรอนิกส์ Smart Outcome การเชื่อมโยงระบบบริหารระบบสารสนเทศของ รพ. ติดตั้งโซล่าเซลล์ การใช้รถยนต์ส่วนกลางทางเดียวกันไปพร้อมกัน การนิเทศการปฏิบัติงานแก่เจ้าหน้าที่เรื่องการจัดการมูลฝอย โดยจัดทำโครงการ IC ENV RM DAY ประจำทุกปี การใช้หลัก 3R มีนวัตกรรมประหยัดน้ำชักโครกด้วยน้ำเปล่า 2 ขวด จัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การทำความสะอาดบริเวณทางสัญจรและทางระบายน้ำเพื่อเตรียมความพร้อมในช่วงฤดูฝน เป็นต้น ซึ่งผลการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะ 7 เดือนแรก ของปี 2566 และปี 2567 พบว่า ภาพรวมยังไม่สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก รพ. มีการสร้างตึกให้บริการเพิ่ม ซึ่ง รพ. ได้จัดทำแผนติดตั้งโซล่าเซลล์เพิ่ม อย่างไรก็ตาม พบว่ามีบางกิจกรรมที่สามารถลดลงปริมาณการปลดปล่อยลงจากปี 2566 ได้แก่ การจัดการมูลฝอยซึ่งเกิดจากการคัดแยกมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น ตามโครงการ IC ENV RM DAY ทั้งนี้ รพ. จะทบทวนการเก็บรวบรวมข้อมูล นำไปสู่การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจะดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลการลดในระยะ 1 ปี ต่อไป

          นอกจากนี้ รพ. ได้นำเสนอผลการประเมินความเปราะบางจากอุทกภัย และการเตรียมการรองรับภัย อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการทีมระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ มีแผนการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีทีม MCATT มีการติดตามสถานการณ์ข้อมูลข่าวสารสาธารณภัย มีแนวทางการรับมืออุทกภัย เป็นต้น โดย รพ. จะดำเนินการประเมินความเปราะบาง และเพิ่มเติมแผนรองรับภัยให้ครอบคลุม ครบถ้วน เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาล และจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานร่วมกับ รพ. นำร่องอื่นๆ ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน