คุณกำลังมองหาอะไร?

วั

วันที่ 26 สิงหาคม 2567 ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

27.08.2567
36
0
แชร์
27
สิงหาคม
2567

         วันที่ 26 สิงหาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 2/2567 ณ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรุงเทพมหานคร โดยมีนายแพทย์ปิยชาติ สิทธินาค รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ 1 เป็นประธานการประชุม ร่วมด้วยนางสาวศิริวรรณ แสงทองพิทักษ์ รองผู้อำนวยการด้านอำนวยการ โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม สถาบันพัฒนา    สุขภาวะเขตเมือง และทีมบุคลากรจาก รพ.นพรัตนราชธานี วัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำและการเตรียมการรองรับภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโรงพยาบาล

          รพ. ได้นำเสนอผลการคำนวณและวิเคราะห์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก พบว่า ในภาพรวมกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คือ การใช้ไฟฟ้า รองลงมาคือ การใช้สารเคมี การกำจัดของเสีย การใช้ทรัพยากรสาธารณูปโภคฯ และการเผาไหม้แบบเคลื่อนที่  ซึ่ง รพ. ได้ดำเนินกิจกรรมลดการใช้ทรัพยากรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนี้ ด้านการให้บริการทางการแพทย์ นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการ เช่น Telemedicine OPD/IPD paperless บริการส่งยาทางไปรษณีย์  ด้านอาคาร รณรงค์การเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในและบริเวณโดยรอบอาคาร ด้านพลังงานไฟฟ้า ติดตั้งโซล่าเซลล์ สำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าและเปลี่ยนเป็นแบประหยัดพลังงาน รณรงค์อนุรักษ์พลังงาน และใช้รถไฟฟ้าในการขนส่ง ด้านการจัดการมูลฝอย รณรงค์     คัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมจากวัสดุเหลือใช้ โครงการส่งคืนซองยารักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการขนส่ง การใช้น้ำ รับส่งเจ้าหน้าที่แบบ CARPOOL บำรุงรักษารถยนต์ส่วนกลาง จัดระบบสำรองน้ำให้เพียงพอ ปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่มผ่านการกรองทุกจุดบริการ และเฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพน้ำใช้ ด้านทรัพยากร โรงพยาบาลอาหารปลอดภัย  มี GREEN Market และการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว ประหยัดพลังงาน ซึ่งผลการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะ 7 เดือนแรกของปี 2566 และปี 2567 พบว่า ภาพรวมมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2567 สูงกว่า 2566 เนื่องจาก รพ. ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากการก่อสร้างอาคารให้บริการ อย่างไรก็ตาม รพ.มีกิจกรรมที่ส่งผลให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การติดตั้งโซล่าเซลล์ การคัดแยกขยะติดเชื้อและขยะรีไซเคิล การนำเศษอาหารไปเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ทั้งนี้ รพ. จะทบทวนการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนและถูกต้อง นำไปสู่การวิเคราะห์และกำหนดมาตรการ และดำเนินกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปรียบเทียบผลการลดในระยะ 1 ปี ต่อไป

          สำหรับด้านความเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่า รพ. ประเมินความเปราะบางจากอุทกภัย และมีการนำแผนเดิมที่มีอยู่ เช่น แผนรองรับช่วงโควิด และแผนการดำเนินงานปกติ มาประยุกต์เป็นแผนรองรับอุทกภัย อาทิ มีทีมสำหรับดูแลสุขภาพจิตของบุคลากร แผนการตรวจคุณภาพน้ำ การเตรียมเครื่องสำรองไฟฟ้า การประเมินจุดที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า การเตรียมการเรื่องอาหารและน้ำดื่ม โดยกำหนดเมนูอาหารให้สอดรับกับวัตถุดิบที่จะสามารถเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยได้ เป็นต้น ทั้งนี้ รพ. จะทบทวนเรื่องการประเมินความเปราะบางให้ถูกต้องและครบถ้วน รวมถึงการจัดทำแผนรองรับอุทกภัยเพื่อให้ครอบคลุมและสมบูรณ์ และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลการดำเนินงานร่วมกับ รพ. นำร่องอื่นๆ ต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน