คุณกำลังมองหาอะไร?

วั

วันที่ 29 สิงหาคม 2567 การประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจประเมินตามมาตรฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานบริการการสาธารณสุข GREEN & CLEAN Hospital Challenge (ระดับท้าทาย) ครั้งที่ 2 ด้านการจัดการของเสียทางการแพทย์

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.08.2567
29
0
แชร์
30
สิงหาคม
2567

      วันที่ 29 สิงหาคม 2567 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจประเมินตามมาตรฐานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานบริการการสาธารณสุข GREEN & CLEAN Hospital Challenge (ระดับท้าทาย) ครั้งที่ 2 ด้านการจัดการของเสียทางการแพทย์ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจประเมินรับรองความเป็นเลิศเฉพาะด้านของโรงพยาบาล 2) เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ทีมตรวจประเมินระดับศูนย์อนามัยให้สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินที่พร้อมให้คำปรึกษาแก่โรงพยาบาลในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัย สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลผู้สนใจ ซึ่งการพิจารณาตรวจประเมินครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบด้วย

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธวัช เพชรไทย มหาวิทยาลัยมหิดล
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนพร วงศ์สุนทรชัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บุษราคัม ฐิตานุวัฒน์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. นางสาวปรียนิตย์ ใหม่เจริญศรี สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม
  5. นายทัยธัช หิรัญเรือง สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม 

โดยมีโรงพยาบาลที่เข้ารับการตรวจประเมินรับรอง ด้านการจัดการของเสียทางการแพทย์ จำนวน 19 แห่ง ได้แก่

1)   โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย  2)   โรงพยาบาลบางพลี จ.สมุทรปราการ   3)   โรงพยาบาลยางสีสุราช จ.มหาสารคาม  4)   โรงพยาบาลคลองขลุง จ.กำแพงเพชร   5)   โรงพยาบาลบรบือ จ.มหาสารคาม   6)   โรงพยาบาลตะกั่วป่า จ.พังงา    7)   โรงพยาบาลบางมูลนาก จ.พิจิตร    8)   โรงพยาบาลนาเชือก จ.มหาสารคาม   9)   โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร   10)  โรงพยาบาลวาริชภูมิ จ.สกลนคร  11) โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ 12) โรงพยาบาลเชียงยืน จ.มหาสารคาม 13) โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จ.สกลนคร   14) โรงพยาบาลพิจิตร จ.พิจิตร  15) โรงพยาบาลวาปีปทุม จ.มหาสารคาม 16) โรงพยาบาลคอนสาร จ.ชัยภูมิ 17) โรงพยาบาลนิคมน้ำอูน จ.สกลนคร   18)  โรงพยาบาลแกดำ จ.มหาสารคาม  19) โรงพยาบาลพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต จ.สกลนคร

           จากการตรวจประเมินและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ โรงพยาบาลและหน่วยงานภาคีสามารถนำคำแนะนำ และข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ ไปสู่การปรับปรุง พัฒนา และยกระดับการดำเนินงานการตามกระบวนการด้านการจัดการของเสียทางการแพทย์ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน