คุณกำลังมองหาอะไร?

กา

การประชุม The 9th Meeting of ASEAN Health Cluster 2 on Responding to All Hazards and Emerging Threats ระหว่างวันที่ 29 - 31 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมพูลแมน พัทยา จี จังหวัดชลบุรี และผ่านระบบ Video Conference

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

05.11.2567
15
0
แชร์
05
พฤศจิกายน
2567

          วันที่ 29 - 31 ตุลาคม 2567 อธิบดีกรมอนามัยแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ มอบหมายให้ นางสาวนัยนา ใช้เทียมวงษ์ ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกรมอนามัย พร้อมด้วยนางณีรนุช อาภาจรัส ผู้อำนวยการสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการจากกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม และศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศ เข้าร่วมการประชุม The 9th Meeting of ASEAN Health Cluster 2 on Responding to All Hazards and Emerging Threats ณ โรงแรมพูลแมน พัทยา จี จังหวัดชลบุรี และผ่านระบบ Video Conference ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ในฐานะประธาน ASEAN Health Cluster 2 (กลุ่มประเด็นที่ 2 การตอบโต้อันตรายและภัยคุกคามต่าง ๆ) โดยมีกรมควบคุมโรคเป็นฝ่ายเลขานุการขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว

          การประชุมครั้งนี้ นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค ในฐานะ SOMHD Thailand เป็นประธานการประชุม มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานกิจกรรมภายใต้แผนความร่วมมือระยะ 5 ปี (Work Programme for 2021 to 2025) และสร้างความร่วมมือด้านสาธารณสุขในภูมิภาคอาเซียนร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย โดยมีองค์ประกอบผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย 1) ประเทศสมาชิกอาเซียน 11 ประเทศ 2) ASEAN Secretariat และ 3) องค์กรภาคีเครือข่าย (partner) ได้แก่ 1) Australian Mission to ASEAN 2) Global Affairs Canada (GAC) 3) National Health Commission of China (NHC) 4) German Development Agency (GIZ Thailand) 5) Ministry of Health, Labour and Welfare of Japan (MHLW) 6) Japan International Cooperation Agency (JICA) 7) Korea Disease Control Agency (KDCA) 8) United Kingdom Health Security Agency (UK HSA) 9) United States Agency for International Development (USAID) 10) US Centres for Diseases Prevention and Control (US CDC) 11) United Nations Children’s Fund (UNICEF) 12) Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS) 13) World Bank (WB) 14 World Health Organization (WHO) 15) World Organisation for Animal Health (WOAH) 16) Agence Française De Développement (AFD) 17) Asia Pacific Leaders’ Malaria Initiative (APLMA) 18) Bill & Melinda Gates Foundation (BMGF) และ 19) Southeast Asia One Health University Network (SEAOHUN) ซึ่งกรมอนามัยเข้าร่วมประชุมในฐานะ Lead Country ประเด็น Continuation of ‘Strengthening Environmental Health Network and Empowering Health Impact Assessment’ ภายใต้ Health Priority 12: Environmental Health, Health Impact Assessment (HIA) and Health Impact of Climate Change

           กรมอนามัย โดยนางสาวนัยนา ใช้เทียมวงศ์ ผู้อำนวยการกองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ได้นำเสนอโครงการ Strengthening capacity on health impact assessment and climate change adaptation in health ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การอบรมเรื่อง การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (ครู ก.) ด้านการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทั้งในระดับส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด ประเทศไทย และกิจกรรมที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ ได้แก่ กิจกรรมที่ 3 การพัฒนา Concept Note จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ 1) The Virtual Training Course on Health Impact Assessment for ASEAN Member States และ 2) The Training Course on Climate Change and Health for ASEAN Member States ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการประสานประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเสนอรายชื่อ focal point ประเด็นการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) และประเด็นการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCA) และมีแผนดำเนินการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประเทศสมาชิกอาเซียนช่วงต้นปี พ.ศ. 2568 พร้อมทั้งสำรวจข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์ ASEAN EH&HIA ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยประเทศไทย ภายใต้แผนความร่วมมือฉบับก่อนหน้า (ASEAN Health Cluster 2 Work Programme 2016 - 2020) เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงเว็บไซต์ต่อไป โดยที่ประชุมรับทราบ และเห็นชอบต่อการดำเนินงานโครงการดังกล่าว

             นอกจากนี้ ASEAN Secretariat ได้นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ Conduct of ASEAN Water, Sanitation, and Hygiene (WASH), Climate Resilience and Social Inclusion Situation Analysis and Policy Review ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานภาคการสาธารณสุขและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในด้านสุขภาพ โดย UNICEF อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ Country Profile ของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อจัดทำข้อมูลการทบทวนนโยบาย WASH, Climate Resilience and Social ระดับภูมิภาค ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วในบางประเทศ และมีแผนที่จะดำเนินการในทุกประเทศของอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย

         การประชุมครั้งต่อไป คาดว่าจะจัดขึ้นในเดือนกันยายน 2568 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะกำหนดรูปแบบและแจ้งรายละเอียดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนทราบต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน