กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ
วันที่ 24 ธันวาคม 2567 นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ครั้งที่ 4/2567 ณ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การประชุมครั้งนี้ ดร.ชญานันท์ ภักดีวิจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานการประชุม มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF-8) โดยสาระสำคัญการประชุมประกอบด้วย
1.รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการที่ขอรับการสนับสนุนจาก GEF-8 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการ Integrated Management of key biodiversity areas and priority species through other effective area-based conservation measures (OECMs) โดยสำนักงานนโยบาบและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้รับความเห็นชอบในหลักการต่อโครงการฯ จากคณะทำงานกลั่นกรองโครงการฯ แล้ว 2) โครงการ Building Access and Benefit Sharing (ABS) Framework for Biodiversity Conservation and Sustainable Use in Thailand โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ได้รับความเห็นชอบในหลักการต่อโครงการฯ จากคณะทำงานกลั่นกรองโครงการฯ แล้ว และ 3) กรอบข้อเสนอโครงการ (Concept paper) Integrating land resources management, climate-smart agriculture, and agrichemical management and reduction for safe and sustainable food system in degraded agricultural landscapes in Thailand โดยกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อพิจารณาในเบื้องต้น
2.พิจารณาและมีมติให้ความเห็นชอบในหลักการ 2 โครงการ ได้แก่
1) โครงการ Integrated Management of key biodiversity areas and priority species through other effective area-based conservation measures (OECMs) มีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ และ UNDP เป็น GEF Agency ขอรับการสนับสนุนวงเงิน จำนวน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีหน่วยงานร่วมสนับสนุนงบประมาณสมทบ 20,753,911 ดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) กรมป่าไม้ กรมประมง ศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC) และ Wildlife Fund for Nature โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญด้วยวิธีการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ (OECMs) โดยจะดำเนินการใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ลุ่มน้ำสงครามตอนกลาง จังหวัดนครพนม พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน และพื้นที่อ่าวไทยตอนใน มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 48 เดือน ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ (1) นโยบายและแผนงาน และขีดความสามารถในการดำเนินงานที่เข้มแข็ง โดยการประยุกต์ใช้หลักการ OECMs (2) การยกระดับการอนุรักษ์และจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการจัดตั้งกลไกและการดำเนินงานเกี่ยวกับ OECMs ในพื้นที่นำร่อง (3) แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับ OECMs โดยให้ความสำคัญกับ Gender-inclusive model (4) การจัดการแบบปรับเปลี่ยน (Adaptive management) โดยอาศัยข้อมูลจากการติดตามประเมินผล
2) โครงการ Building Access and Benefit Sharing (ABS) Framework for Biodiversity Conservation and Sustainable Use in Thailand มีสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ และ UNDP เป็น GEF Agency ขอรับการสนับสนุน จำนวน 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีหน่วยงานร่วมสนับสนุนงบประมาณสมทบ 14,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กรมป่าไม้ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จัดทำและดำเนินการกรอบงานการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรม (ABS) ระดับชาติของประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านกฎหมายและสถาบันภายในประเทศ และ (2) ส่งเสริมการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม และส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมและได้รับประโยชน์จากการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยจะดำเนินการในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ และน่าน มีระยะเวลาดำเนินโครงการ 48 เดือน ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกรอบการดำเนินงาน ของ ABS ระดับชาติ (2) การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในโครงการ ABS และ (3) การสาธิตและการขยายแนวปฏิบัติ ABS ของชุมชนที่ดีไปใช้ทั่วประเทศไทย