คุณกำลังมองหาอะไร?

ำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยง และจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย พื้นที่นำร่องภาคกลาง

กรมอนามัย พร้อมให้ข้อมูลข่าวสารที่มีประโยชน์สำหรับคุณ

30.05.2568
83
0
แชร์
30
พ.ค.
2568
     วันที่ 27-30 พฤษภาคม 2568 สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยง และจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย พื้นที่นำร่องภาคกลาง ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลรางจรเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง และโรงเรียนเทศบาล 7 (วัดแก่งขนุน) จังหวัดสระบุรี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลความเสี่ยงและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย นำไปสู่การพัฒนารูปแบบ แนวทาง การบริหารจัดการความเสี่ยงในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย 1) การสำรวจสภาพแวดล้อมและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2) การตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ 3) จัดประชุมระดมความคิดเห็น (Focus group) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการและครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นสังกัด ตัวแทนผู้นำชุมชนและผู้ปกครอง และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/โรงพยาบาล จาก 3 จังหวัด และศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี รวมจำนวน 20 คน/แห่ง โดยได้รับความร่วมมือจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกิจกรรม
     การประชุมได้ร่วมกันระดมสมอง วิเคราะห์ ประเมิน กำหนดประเด็นและมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่สำคัญ ดังนี้
  1. การจัดการสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้ปลอดภัย เช่น ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันประตูหนีบนิ้วเด็ก ติดกันกระแทกบริเวณเสาและตู้ที่มีมุมแหลม ยึดติดตู้และขั้นวางอุปกรณ์กับผนัง ปรับสภาพต่างระดับ เก็บสายผ้าม่านให้พ้นมือเด็ก ปรับจากพัดลมตั้งพื้นเป็นติดผนัง ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำ เป็นต้น
  2. การจัดการพื้นที่เล่นหรือสนามเด็กเล่นให้เหมาะสมและปลอดภัยกับเด็กเล็ก เช่น ปรับปรุงพื้นสนามให้ปลอดภัย ติดตั้งเครื่องเล่นให้มั่นคงแข็งแรง จัดระบบการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องเล่น เป็นต้น
  3. การจัดการระบบอัคคีภัย เช่น ตรวจสอบถังดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ ติดตั้งกริ่งแจ้งเตือนกรณีเกิดเหตุไฟไหม้ การฝึกซ้อมหนีไฟ เป็นต้น
  4. การจัดการความปลอดภัยของการจราจรในพื้นที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่น ติดตั้งป้ายกำกับความเร็วในเขตสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ปกครองและเด็กเล็ก เป็นต้น
     ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วางแผนปฏิบัติการ (Planning) และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยของตนเอง ซึ่งสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยจะนำแนวทางการดำเนินไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุงสภาพแวดล้อม (Action) อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดความเสี่ยงตามประเด็นปัญหาที่ได้จากการประเมินความเสี่ยง โดยมีทีมงานสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ให้คำแนะนำและสนับสนุนการดำเนินการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อไป

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย
เรามีสาระสุขภาพดีๆ
ส่งตรงถึงคุณ
ทุกวัน